หนังสือ ฝึกหัดเขียนวาดภาพ ชุด ตัวพระ-นาง ในศิลปะไทย (ฉบับปรับปรุง)
ลักษณะเฉพาะของศิลปะไทย คือ ภาพคนในศิลปะไทยไม่เน้นกล้ามเนื้อ แต่เน้นภาพให้สวยงามด้วยลายเส้น เน้นความอ่อนช้อยของลาย ในขณะที่ภาพเขียนของทางตะวันตกจะเน้นความสวยงามของกล้ามเนื้อ ดังเช่นภาพของศิลปินชื่อก้องโลกอย่าง ไมเคิล เองเจโล เป็นต้น...
ภาพไทยที่เห็นได้ชัดเจนเกี่ยวกับความอ่อนช้อยของลายเส้น นั่นคือ การเขียนภาพไทยหมวดนารี หรือการเขียนภาพตัวพระ ตัวนาง ซึ่งตัวภาพที่นิยมเขียนกันมากคือตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ เช่น พระราม พระลักษมณ์ นางสีดา พระอินทร์ เหล่าเทวดา รวมถึงภาพไพร่พลต่างๆ หรือภาพพุทธประวัติตามวัดวาอารามทั่วไป...
ข้อสังเกตในการเขียนภาพไทยหมวดนารี หรือภาพตัวพระ ตัวนางนี้ คือ ลักษณะของภาพจะมีความอ่อนช้อยของเส้นที่เหมือนกันทั้งภาพพระและนาง ทว่าสร้างความแตกต่างกันด้วยเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ มงกุฎ ชฎา รวมถึงการเขียนหนวดในภาพพระด้วย...
ขั้นตอนการฝึกเขียนภาพตัวพระ ตัวนางให้สวยงามนั้นย่อมต้องศึกษาขั้นตอนการวาดให้ถูกต้อง ตั้งแต่การแบ่งสัดส่วน การร่างภาพ การใส่รายละเอียด หากสามารถฝึกเขียนได้ตามขั้นตอนแล้ว การวาดภาพตัวพระ ตัวนาง ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป...
หนังสือ ตัวพระ-นางในศิลปะไทย เล่มนี้ เป็นหนังสือที่เน้นขั้นตอนการฝึกเขียนภาพอย่างถูกต้อง รวมถึงแบบฝึกหัดเขียนภาพตัวพระ ตัวนางในอิริยาบถต่างๆ ให้ได้ใช้เป็นแบบฝึกหัดเพื่อให้เกิดความชำนาญในการฝึกเขียนต่อไป...
หนังสือดี น่าอ่าน / ขนาดเล่ม 18.5x26x0.5 cm. / ราคาปก 90 บาท / จำนวน 80 หน้า